ขายฝาก ไม่ให้โดนหลอก เพียงรู้ 5 ข้อนี้

สิ่งที่ ควรระวัง ก่อนที่จะทำสัญญา “ขายฝาก”

แม้ว่าคุณจะขายฝากผ่าน “บริษัท” “นายหน้าขายฝาก” หรือ คนรู้จัก ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะไม่โดนเอาเปรียบ สิ่งที่ควรสอบถามให้รอบคอบและแน่ใจก่อนตกลงทำสัญญาขายฝากกับ บริษัทนายหน้า บริษัทรับขายฝาก แพลตฟอร์มขายฝาก หรือ นายทุนใดๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และ ไม่ให้ใครมาหลอกลวงได้ ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายที่แอบแฝง ที่หลอกให้จ่ายมาในรูปแบบต่างๆ  เช่น

1.1 การเรียกเก็บค่าต่อสัญญารายปี

บางที่อาจหลอกให้ทำสัญญาระยะสั้น 1 ปีก่อน ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูก แต่มีเรียกเก็บค่าต่อสัญญารายปีเพิ่มถึง 5 หมื่นบาทในทุกๆปี หรือ เรียกเก็บค่าต่อสัญญาเป็นเปอร์เซ็นต์ของวงเงินขายฝาก ซึ่งบังคับเก็บตอนจะต่อสัญญา ไม่งั้นจะไม่ต่อสัญญาให้ ทำให้ผู้กู้ไม่มีทางเลือก มีโอกาสโดนนายทุนยึดบ้านยึดที่ จึงต้องจำใจจ่ายส่วนนี้เพิ่มเติม ทำให้บริษัทนายหน้าเหล่านั้นฉวยโอกาสเอาเปรียบคนที่เดือดร้อนได้

1.2 ค่าเดินทาง ค่าเอกสาร ที่แพงมาก ไม่สมเหตุสมผล

ในบางนายหน้า นายทุน มีการเรียกเก็บค่าเดินทาง ที่แพงเกินความเป็นจริงมาก ไม่มีความเหมาะสม เช่น การเดินทางไม่กี่กิโลเมตรจากสำนักงาน หรือ ค่าเดินทางไปต่างจังหวัด คิด เป็น 1-2 หมื่นบาท ต่อการเดินทาง 1 ครั้ง ในบางครั้ง แพงกว่าดอกเบี้ยที่เรียกเก็บอีก

2. การเพิ่มดอกเบี้ยระหว่างการขายฝาก

บางที่นายทุนอาจเอาดอกเบี้ยถูกมาเสนอให้ในปีแรก เช่น หลอกว่า ดอกเบี้ยร้อยละ  8 %, 9 % ต่อปี และ เมื่อหลงทำธุรกรรมแล้ว ก็จะบังคับ เก็บเพิ่มในปีถัดไป ทำให้ในปีถัดๆไป จะมีภาระดอกเบี้ยที่สูงมาก เกินกว่ากฎหมายกำหนด

3. การปิดบัง ไม่แสดงรายละเอียด ช่องทางติดต่อ เบอร์โทร ของนายทุน

บริษัทนายหน้าเหล่านี้ จะอ้างว่าต้องติดต่อผ่านบริษัท / นายหน้า อย่างเดียว ปิดบังข้อมูล ไม่ให้ช่องทางติดต่อ ทั้งข่มขู่ อ้างเหตุอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ไม่สามารถเจรจากับนายทุนโดยตรงได้ ทั้งที่เป็นสิทธิตามกฎหมาย ว่า คู่สัญญา ผู้กู้กับนายทุน ต้องมีสิทธิที่จะรู้ข้อมูลกัน ดังนั้น เมื่อมีเหตุใดๆ ก็เป็นสาเหตุให้โดนบริษัทนายหน้าหลอกเพิ่มดอกเบี้ย หลอกยักยอกดอกเบี้ย บังคับเก็บค่าต่อสัญญา บังคับเปลี่ยนนายทุนเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม โดยไม่สามารถโต้แย้งได้

4. การที่บริษัทนายหน้าหลอก ว่า นายทุนไม่ต่อสัญญา

จากการที่ไม่รู้ข้อมูล ไม่รู้ช่องทางติดต่อนายทุนข้างต้น บริษัทนายหน้าจะใช้กลวิธี บอกว่า นายทุนที่ติดต่อไว้ ไม่ต่อสัญญาขายฝากให้ ต้องให้หานายทุนคนใหม่ ไม่อย่างนั้นที่ดินจะตกเป็นของนายทุน เพื่อที่นายหน้า จะได้เก็บค่านายหน้าอีก ในทุกๆปี โดยไม่สนใจถึงผลเสียของเจ้าของทรัพย์ ที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ภาษี ที่สำนักงานที่ดินใหม่ เป็นจำนวนมาก

5. โดนยักยอกดอกเบี้ย โกงดอกเบี้ย

เมื่อไม่ได้คุยกับนายทุนโดยตรง ทำให้ต้องติดต่อกับบริษัทนายหน้า ดอกเบี้ยก็ต้องโอนเข้าบัญชีของบริษัทนายหน้า แท้จริงแล้วนายทุนอาจเก็บดอกเบี้ยต่ำ เพียง 9-10% ต่อปี แต่นายหน้าเรียกเก็บเพิ่ม เพื่อเข้ากระเป๋าตัวเอง อาจเรียกเก็บเป็น 12-15% แล้วยักยอกส่วนต่างเข้ากระเป๋าตัวเอง โดยที่ผู้ทำธุรกรรมไม่ทราบเลยและเสียประโยชน์ไปฟรีๆ หากเป็นเช่นนี้หลายครั้ง เงินที่บริษัทนายหน้ายักยอกไปก็มีมูลค่ามาก อย่างน่าเสียดายแทนผู้ทำธุรกรรม

ถ้าเจอ บริษัท นายหน้า ที่เป็น 5 ข้อนี้ แม้มีภาพลักษณ์ที่ดี ออกสื่อ ออกทีวี ก็ไม่ต่างกับ นายหน้านอกระบบ

ผู้กู้ ควรมี “สติ” และ หาข้อมูลรอบด้าน ก่อนทำสัญญานิติกรรมใดๆกับ นายทุน / นายหน้า / บริษัทนายหน้าขายฝากเว็ปไซต์ ถึง อัตราดอกเบี้ย ค่าปากถุง ค่าธรรมเนียม ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่มาในรูปแบบแอบแฝง และสอบถามถึงค่าใช้จ่ายในปีถัดๆไป เพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้กู้เอง ในบางครั้ง แม้ว่าผู้กู้วางแผนระยะยาว คำนวนถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของตนเอง เพื่อให้ปลอดหนี้เร็วที่สุดแล้ว แต่มาเจอค่าใช้จ่ายที่แอบแฝงในรูปแบบดังกล่าว เช่น เจอค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกปีละหลักแสน หรือค่าต่อสัญญาอีกหลายหมื่นต่อปี จึงทำให้ความหวังที่จะปลดหนี้หมดลง และต้องเป็นหนี้เพิ่มไม่ต่างกับเงินกู้นอกระบบ

ข้อคิดในการทำธุรกรรมขายฝาก

การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนประเภทหนึ่ง ซึ่ง เงินทุนที่ได้มา เปรียบเสมือนเงินกู้มา ต้องใช้คืนเงินต้นเพื่อไถ่ถอนทรัพย์ ดังนั้น ผู้กู้ควรคำนวนเงินกู้ให้พอเหมาะพอดีกับที่ต้องการเท่านั้น ไม่ควรกู้วงเงินสูงๆเพื่อนำมาใช้จ่ายทั่วไปที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ ไม่ได้นำไปลดภาระดอกเบี้ยที่สูงกว่าอื่นๆเช่นบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ การประมาณการรายได้ในอนาคตอย่างพอดี เพื่อมีเงินมาคืนเงินกู้อย่างไม่ลำบาก จะเป็นหนทางที่ปลดหนี้ได้รวดเร็วที่สุด

การขายฝากที่ดีที่สุด คือการนำเงินที่ได้ ไปต่อยอดธุรกิจ ขยายกิจการ ให้ได้อัตราผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยขายฝาก และได้เงินคืนมาในระยะเวลาที่แน่นอน เพราะการขายฝาก เป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยปัจจุบัน ตาม พรบ.ขายฝากปี2562 กำหนดว่าการขายฝากจะมีขั้นต่ำ 1 ปี และสามารถต่ออายุได้ถึง 10 ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้งก็ตาม แต่ผู้กู้ควรวางแผนให้รอบคอบ เพื่อการไถ่ถอนในอนาคต

การขายฝากที่ดีลำดับรองลงมา คือ การนำเงินที่ได้ไปลดภาระอื่นๆที่ดอกเบี้ยสูง เช่น การนำเงินไปปิดหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ย 30% ต่อปี หรือ 2.5% ต่อเดือน หรือ นำเงินที่ได้ไปปิดบัตรเครดิตที่ดอกเบี้ย 18-24% ต่อปี เพื่อลดภาระให้ได้มากที่สุด และนำเงินที่ประหยัดได้นั้น ไปจ่ายคืนเงินต้นให้หมดเร็วขึ้น

ขายฝาก เป็นมิตร ต้อง มิตรเมืองไทย ถูกกฎหมาย

มิตรเมืองไทย คือ กลุ่มนายทุน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยเหลือประชาชน เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของบุคคลทั่วไป ประชนชน และ เจ้าของบริษัท กิจการ ร้านค้า ต่างๆ ผ่านกระบวนการ “ขายฝาก” โดยใช้ อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์ ตึกแถว คอนโด ห้องชุด มาค้ำประกัน โดยทำทุกกระบวนการอย่างถูกกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า ไม่ดูเครดิตบูโร ไม่ตรวจเสตทเมนต์ธนาคาร และ ไม่เช็ครายได้ ผู้กู้สามารถใช้การ “ขายฝาก” เป็นอีกช่องทางในการหาเงินทุน เพื่อนำไป ปิดหนี้นอกระบบ ไถ่ถอนโฉนด ปิดหนี้บัตรเครดิต เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เงินทุนเริ่มกิจการใหม่ หรือ ขยายกิจการ กับ มิตรเมืองไทย ที่มีดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยคงที่ตลอดสัญญา ซื่อสัตย์ จริงใจ ช่วยเหลือประชาชน

สามารถสอบถามกับทีมช่วยเหลือ
โทร097 963 2951 ( จ.-ศ. 10:00-18:00) หรือ ลงทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ www.mitrmuangthai.com
Line Official : @mmthai  (ใส่เครื่องหมาย @)

ขายฝาก จำนอง เป็นมิตร ต้อง มิตรเมืองไทย

[ กลับหน้าแรก ]

กดเพื่อแชร์หน้านี้